กระจกกันเสียง เลือกใช้ยังไงไม่ให้เรื่องเสียงมากวนใจ?

เสียงจากถนนใหญ่ รถไฟฟ้า หรือแม้แต่เสียงก่อสร้าง คือปัญหา “คลาสสิก” ที่อาจกวนใจลูกบ้านหลังย้ายเข้าอยู่ในโครงการเสร็จใหม่ โดยเฉพาะกับอาคารแนวสูง หรือคอนโดในทำเลเมืองที่หลีกเลี่ยงเสียงรบกวนได้ยาก
แม้จะเลือกใช้กระจกคุณภาพดี แต่หากไม่ได้ออกแบบระบบกันเสียงอย่างรอบด้าน ก็อาจทำให้เกิดปัญหาเสียงเล็ดลอดเข้าห้องพักได้ การเลือกใช้ “กระจกกันเสียง” จึงไม่ใช่แค่เรื่องของวัสดุ แต่คือการวางแผนที่ตอบโจทย์ทั้งด้านงบประมาณ ดีไซน์ และประสบการณ์ของผู้อยู่อาศัยในระยะยาว บทความนี้จะพาไปดูแนวทางการเลือกกระจกกันเสียงที่ตอบโจทย์งานออกแบบและลดโอกาสการร้องเรียนหลังโอนฯ ได้จริง
แล้วจะเลือกกระจกกันเสียงยังไงให้เวิร์ก?
-
รู้ก่อนว่าปัญหาเสียงมาจากไหน
หากโครงการอยู่ติดถนนหรือแนวรถไฟฟ้า เสียงที่รบกวนส่วนใหญ่มักเป็น เสียงความถี่ต่ำ (Low Frequency) เช่น เสียงรถบรรทุก เครื่องยนต์ หรือเสียงเบสรถยนต์ ในขณะที่บางโครงการอาจต้องรับมือกับ เสียงพูดหรือเสียงจากภายนอก (Mid-High Frequency) เช่น เสียงคนคุยกัน เสียงตลาด หรือเสียงกิจกรรมข้างเคียง
👉ซึ่งตัวความถี่ของเสียงที่ต้องการป้องกันถือว่ามีผลต่อการเลือกชนิดกระจก
-
รู้ไว้ก่อนเลือก! กระจกกันเสียงมีกี่แบบ?
- กระจกชั้นเดียว (Single Glazing) ต้องมีความหนาในระดับหนึ่งถึงช่วยกันเสียงได้พอประมาณ แต่ข้อเสียคือเรื่องความปลอดภัย เพราะถ้าแตกแล้วจะร่วงเป็นเศษแหลมทำให้เกิดอันตราย
- กระจกสองชั้น (Double Glazing) กระจก 2 แผ่นเว้นช่องอากาศตรงกลาง ช่วยกันเสียงได้ดีกว่ากระจกแผ่นเดียว เพื่อให้ได้ค่า STC สำหรับกันเสียงที่ดีขึ้น
- กระจกลามิเนต (Laminated Glass) เป็นกระจก 2 แผ่นประกบกัน มีชั้นฟิล์มอยู่ตรงกลาง ถ้าเทียบที่ความหนาเท่ากัน ลามิเนตกันเสียงดีกว่ากระจกชั้นเดียว เช่น กระจกลามิเนต (กระจก+ชั้นฟิล์ม+กระจก) = ความหนาเริ่มต้น 76 มม. จะหนา และกันเสียงได้ดีกว่ากระจกชั้นเดียว 12 มม. และจะมีค่า STC ที่สูงกว่า จุดเด่นคือ ถ้าแตกเศษกระจกจะไม่ร่วงหล่น เพราะฟิล์มจะยึดไว้
- กระจกสองชั้น แบบผสมผสาน(Double Glazing Mix & Match) คล้าย Double Glazing แบบทั่วไป แต่จะป้องกันเสียงได้ขึ้น โดยเปลี่ยนจากกระจกชั้นเดียว เป็นกระจกลามิเนตแทนในส่วนที่เป็นผนังด้านใน หรือด้านที่ใกล้ชิดกับผู้ใช้งาน เพราะถ้ากระจกแตกจะปลอดภัยกว่า
-
โซลูชันที่แนะนำสำหรับโครงการ
กระจกหนา ≠ กระจกกันเสียงที่ดีที่สุด…..หลายคนเข้าใจว่ากระจกหนาคือคำตอบสำหรับการกันเสียง แต่ในความจริง จะกันเสียงได้ดีแค่ไหนขึ้นอยู่กับโครงสร้างของกระจก มากกว่าความหนาเพียงอย่างเดียว
ตัวเลือกที่แนะนำสำหรับงานโครงการ เช่น:
- กระจกลามิเนตกันเสียง (Acoustic Laminated Glass) ที่มีฟิล์มชนิดพิเศษช่วยลดแรงสั่นสะเทือนจากเสียง
- กระจกสองชั้น (Double Glazing) ที่มีช่องอากาศตรงกลางซึ่งช่วยลดเสียงจากภายนอกได้ดี
- กระจกกันเสียงที่ดี ต้องมีเทคโนโลยีที่ช่วยกันเสียงโดยเฉพาะ เทคโนโลยีกระจกกันเสียงสมัยนี้ ไปไกลกว่าที่คิด ในอดีตเวลาพูดถึงกระจกกันเสียงคนมักนึกถึงแค่กระจกหนา แต่ตอนนี้กระจกกันเสียงมีเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง ฟิล์ม PVB แบบ Acoustic ซึ่งเป็นชั้นฟิล์มที่อยู่ระหว่างแผ่นกระจก ที่ได้รับการออกแบบมาให้ดูดซับเสียงได้ดีขึ้นกว่าฟิล์ม PVB ทั่วไป และช่วยลดการสั่นที่ส่งผ่านกระจก เนื่องจากฟิล์ม PVB แบบเดิมไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องการกันเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
👉ส่วนการใช้กระจกกันเสียงแบบติดเสริม (Secondary Glazing) ที่ไม่ต้องรื้อระบบหน้าต่างเดิม สามารถช่วยกันเสียงดีขึ้นได้กว่าเดิมก็จริง แต่ไม่สามารถตอบโจทย์ประสิทธิภาพในการกันเสียงได้อย่างสูงสุด
Project Reference จาก TYK Glass
เช่นเดียวกับ กระจกกันเสียง soundcutz จาก TYK Glass ที่มุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อตอบโจทย์สภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยมลพิษทางเสียง ไม่ว่าจะเป็นการกันเสียงจากผู้คน สถานบันเทิง หรือสนามบิน กระจกกันเสียง soundcutz ก็พร้อมมอบประสบการณ์อันเงียบสงบในทุกช่วงเวลา จึงทำให้โครงการต่าง ๆ เชื่อมั่นในการเลือกใช้เสมอมา ไม่ว่าจะเป็น HYDE Heritage ทองหล่อ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา หรือสำนักงาน SCB Abacus
ดังนั้น การเลือกกระจกกันเสียงสำหรับโครงการ ไม่ได้จบแค่เรื่องความหนาหรือจำนวนชั้นของแผ่นกระจก แต่คือการออกแบบ “ประสบการณ์การอยู่อาศัย” ที่เงียบสงบและเป็นส่วนตัว ตั้งแต่วันแรกที่ลูกบ้านเข้าอยู่ จนถึงวันสุดท้ายของการรับประกันความพึงพอใจ
ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ soundcutz